ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เกี่ยวกับมูลนิธิฯ
dot
bulletที่มาของมูลนิธิฯ
bulletวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
bulletคณะกรรมการฯ ชุดก่อตั้ง
bulletคณะกรรมการฯ ชุดปัจจุบัน
bulletบริจาคสมทบทุนมูลนิธิฯ
dot
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletกระทรวงศึกษาธิการ
bulletกระทรวงวัฒนธรรม




โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย (รางวัลฯ ชมเชย) article

ประวัติ:

  • ปี พ.ศ. 2470 เดิมชื่อ “โรงเรียนอินทรศึกษา”  ตั้งอยู่ที่ตรอกพระยาสุนทร หัวลำโพง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • ปี พ.ศ. 2518  กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รับโอนมาเป็นโรงเรียนรัฐบาล  และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย” โดยย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่บนเนื้อที่ 18 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา บนถนนศรีอยุธยา เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
     

สถานที่ตั้ง: ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 18 ไร่ 1 งาน 50  ตารางวา  บนถนนศรีอยุธยา เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบัน:  โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย  เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนใรระบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ  เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย  มีนักเรียนชาย-หญิงรวม 2,410 คน มีครู-อาจารย์ จำนวน 129 คน  และมีนายชเนศร์ นาคนิยม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน

สัญลักษณ์ของโรงเรียน: คบเพลิง หมายถึง แสงสว่างที่กระจายพุ่งไปรอบด้าน หมายถึงความรุ่งโรจน์แห่งปัญญา
   กรอบรอบๆ คบเพลิง หมายถึง ขอบเขตแห่งระเบียบประเพณีและความมีวินัย
   กนกลายไทย หมายถึง ความอ่อนหวาน หรือความอ่อนน้อมกับบุคคลทั่วไป ผู้อาวุโส และครู-อาจารย์

คำขวัญของโรงเรียน:  “ประพฤติดี เรียนดี มีวินัย ใจกตัญญู รู้หน้าที่”


บางส่วนของ
โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย 

... สภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือที่มีปัญหาต่างๆ นั้น
เป็นสภาพที่หากบุคคลอื่นที่มิได้มีอาชีพเป็นครูแล้ว
อาจไม่มีใครอยากเข้าใกล้หรืออยากสัมผัสเลย
เพราะสภาพเหล่านี้นี่เอง คือแหล่งปัญหา

โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย   ตั้งอยู่บนถนนศรีอยุธยา แขตพญาไท กรุงเทพมหานคร สภาพแวดล้อมของโรงเรียน    มีอาคารเรียน 4 ชั้น อาคารเอนกประสงค์ หอสมุด และสนามกีฬาประเภทต่างๆ มากมาย  และบนพื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา ได้ถูกตกแต่งให้มีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น  ทั้งนี้เพื่อให้เป็นจุดพักผ่อนและง่ายต่อการตรวจตรา  และสอดส่องดูพฤติกรรมของนักเรียนที่อาจไปมั่วสุมเพื่อสูบบุหรี่  หรือไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด  เพราะนักเรียนที่เข้ามาสู่รั้วของสันติราษฎร์แต่ละปีนั้น  มีเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เขตบริการเข้ามาเป็นสมาชิกครอบครัวเดียวกันทุกปี
ชุมชนเพชรบุรี ซอย 5 ชุมชนมักกะสัน ชุมชนซอยหมอเหล็ง ฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน ปัญหาครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น หาเข้ากินค่ำ หมกมุ่นกับการเล่นการพนัน และสิ่งเสพติดต่างๆ และชุมชนที่กล่าวมานี้เองที่ 70 เปอร์เซ้นต์ของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ ส่วนหนึ่งมาจากชุมชนเหล่านี้

ดังนั้น ปัญหาที่ตามมาซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหน่วงของคณะครู-อาจารย์ และผู้บริหารของโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย  ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกคน  จึงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถปฏิเสธได้   คณะครู-อาจารย์ และผู้บริหารโรงเรียนจึงหันหน้าเข้าสู้กับปัญหากันอย่างเต็มที่  โดยปรับเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสเพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาให้ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง  และเพื่อให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้พ้นจากปัญหาต่างๆ โดยเร็ว
ความเหนื่อยยากของคณะครู-อาจารย์ของโรงเรียน  มิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด  ในทางกลับกันกับกลายเป็นความท้าทายให้เกิดความอดทนต่อปัญหามากยิ่งขึ้น  เพราะสภาพที่ครู-อาจารย์และผู้บริหารของโรงเรียนไปพบขณะออกเยี่ยมบ้านของรนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มที่มีปัญหาต่างๆ นั้น  เป็นสภาพที่หากบุคคลอื่นที่มิได้มีอาชีพครูแล้ว  อาจไม่มีใครอยากสัมผัสเลย  เพราะบ้านเรือนที่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวขนาดเล็ก มีหลังคาเกยกัน  ปะด้วยเศษวัสดุต่างๆ ตามที่จะพอหาได้ไม่ว่าจะเป็นเศษไม้ กระดาษแข็ง หรือผืนพลาสติดขนาดใหญ่  ได้บ่งบอกถึงความยากจนเพียงเพื่อให้เป็นที่อาศัยหลับนอนเท่านั้น  และสภาพเหล่านี้นี่เองคือ แหล่งปัญหา

สำหรับความเป็นครูแล้ว  ความสงสารและการหาทางดูแลช่วยเหลือนักเรียนและผู้ปกครองที่มีปัญหาเป็นสิ่งที่ได้พยายามกันอย่างเต็มที่  นโยบายต่างๆ ของรัฐบาลและที่เกิดจากแนวคิดของคณะครู-อาจารย์  และผู้บริหารของโรงเรียน  ได้ถูกนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริง
กิจกรรม “จิตสังคมบำบัด” (Matrix)  จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งในจำนวนหลายกิจกรรมที่ได้ถูกนำมาใช้และทำกันอย่างจริงจังให้ได้ผลมากที่สุด  โดยการคัดกรองนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปัญหา  และทำการประเมินพฤติกรรมเพื่อให้ช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง  โดยสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักเรีนและผู้ปกครองในโทษภัยของสารเสพติด  เพื่อยอมรับกับสภาพของปัญหาและร่วมกันแก้ไขอย่างจริงจัง

จิตแพทย์และนักจิตวิทยาจึงถือเป็นบุคคลสำคุญในกิจกรรม Matrix ที่คณะครู-อาจารย์และผู้บริหารของโรงเรียน  ได้ประสานขอความร่วมมือมาจากโรงพยาบาลต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง  ทั้งจากโรงพยาบาลราชวิถี รามาธิบดี เดชา และพญาไท  นอกจากนี้การแก้ปัญหาและการป้องกันในระยะยาว  จึงเป็นความนจำเป็นที่ต้องสร้างเครือข่ายของนักเรียนแกนนำและผู้ปกครองขึ้น  ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ จากภายนอกที่สามารถประสานความมือได้ เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจและตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สถานีตำรวจนครบาลพญาไท อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)  คณาจารย์และนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ จากวิทยาลัยพยาบาลบรมาราชชนนี  สมาคมผู้ปกครองและสมาคมศิษย์เก่าสันติราษฎร์  เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการ  และจัดหาทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

จากความพยายามและความอดทนของคณะครู-อาจารย์และผู้บริหารโรงเรียน  ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุจต่างๆ  ภายในโรงเรียนและภายในชุมชนบริเวณรอบโรงเรียน ทำให้นักเรียนที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดกำลังจะหมดไป  จึงนับเป็นความสำเร็จที่น่ายกย่องชมเชย  และเป็นตัวอย่างที่ดีเป็นอย่างยิ่ง
 




ทำเนียบรางวัลฯ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี ๒๕๔๕

โรงเรียนศรีบุณยานนท์ (รางวัลฯ ดีเด่น) article
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (รางวัลฯ ดีเด่น) article
โรงเรียนนวมินทร์ราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี (รางวัลฯ ดีเด่น) article
โรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา (รางวัลฯ ชมเชย) article
โรงเรียนรัตนสินทร์สมโภชบางเขน (รางวัลฯ ชมเชย) article
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา (รางวัลฯ ชมเชย) article
โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ (รางวัลฯ ชมเชย) article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิธารน้ำใจ 107 – 115 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0-2721-3999 ต่อ 222, 223, 08-9983-8091, 09-0986-8398 โทรสาร 0-2721-3788 E-mail: info@tarnnamjai.org