ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เกี่ยวกับมูลนิธิฯ
dot
bulletที่มาของมูลนิธิฯ
bulletวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
bulletคณะกรรมการฯ ชุดก่อตั้ง
bulletคณะกรรมการฯ ชุดปัจจุบัน
bulletบริจาคสมทบทุนมูลนิธิฯ
dot
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletกระทรวงศึกษาธิการ
bulletกระทรวงวัฒนธรรม




โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา (รางวัลฯ ชมเชย) article

ประวัติ:

  • ปี พ.ศ. 2504 ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดจังหวัดพระนคร ชื่อว่า “โรงเรีนยประชาราษฎร์อุปถัมภ์”
  • ปี พ.ศ. 2516 ได้โอนไปสังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา
  • ปี พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนจากโรงเรียนประถมศึกษาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา
  • ปี พ.ศ. 2521 โอนย้ายไปสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา
  • ปี พ.ศ. 2546 ได้เปลี่ยชื่อจากโรงเรยนประชาราษฎร์อุมถัมภ์ เป็น “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการ รัชดา”
     

สถานที่ตั้ง: ตั้งอยู่ถนนรัชดาภิเษก  แขวงสามาเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบัน:  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนในระบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอยปลาย  มีนักเรียนชาย-หญิงรวม 2,000 คน มีครู-อาจารย์ จำนวน 98 คน และมีนายสมพงษ์ พลสูงเนิน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน

สัญลักษณ์ของโรงเรียน: “ตราพระเกี้ยว” พระเกี้ยว หมายถึง เครื่องประดับพระเมาลี (จุก) ของพระราชโอรสและพระราชธิดา  และเป็นตราสัญลักษณ์ที่ประทับบนหนังสือราชการประจำรัชกาลของ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ

คติพจน์ของโรงเรียน: “เรียนดี กีฬาดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม”


บางส่วนของ
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา

... ในช่วงแรกครู-อาจารย์ส่วนใหญ่
ไม่มีความรู้ในการเผ้าระวังหรือป้องกันการเสพยาบ้าของนักเรียน
อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายเอาผิดกับผู้บริหารที่มีนักเรียนใช้หรือเสพยาบ้า
จึงไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริงว่ามีผู้เสพยา ค้ายา ในโรงเรียน

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตันต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ยนเนื้องที่ 10 ไร่ 90 ตาราวา บนถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร มีอาคารเรียน 4 หลัง ห้องเรียน 50 ห้อง ห้องพิเศษ 32 ห้อง อาคารฝึกงาน 1 หลัง 6 ห้อง มีสนามกีฬา สนามอเนกประสงค์และภูมิทัศน์บริเวณภายในโรงเรียนที่ร่มรื่น สวยงาม

สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียน  โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามยาเสพติด  ได้กำหนดพื้นที่เขตห้วยขวางดินแดงและคลองเตย เป็นพื้นที่สีแดง หมายถึง มีการแพร่ระบาดของสารเสพติด  โดยเฉพาะยาบ้ารุนแรง และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มีสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดงนี้  ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีบ้านพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว  ด้วยบริเวณชุมชนรอบๆ โรงเรียนที่การจำหน่ายยาบ้าอย่างแพร่หลาย  ซึ่งในการจับกุมของตำรวจแต่ละครั้ง  สามารถยึดยาบ้าได้เป็นจำนวนมาก สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ก่อให้เกิดปัญหาอีกประการหนึ่งคือ โรงเรียนอยู่ในพื้นที่แหล่งบันเทิงและอบายมุข  มีสถานเริงรมย์ที่เป็นที่นิยมและเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่นมากที่สุด  มีห้างสรรพสินค้าจำนวนมาก  ทำให้นักเรียนฟุ่มเฟือยจ่ายเกินตัวและเที่ยวเตร่ยามวิกาล

คณะครู-อาจารย์ และผู้บริหารของโรงเรียนจึงมีนโยบายเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในโรงเรียนอย่างจริงจัง  ส่วนปัญหาของชุมชนซึ่งโรงเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยลำพัง  โรงเรียนจึงให้ความมือในการประสานงานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องกับหน่วยงานต้นสังกัด  สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง ดินแดงและสุทธิสาร ป.ป.ส. สำนักงานเขตห้วยขวาง วัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  อีกทั้งโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านพิษภัยอันตรายของสารเสพติดแก่ผู้ปกครอง นักเรียน ประชาชนในชุมชน และจึดกิจกรรมร่วมกับชุมชน เช่น จัดแสดงศิลปะ ดนตรี แข่งขันกีฬา ทำบุญตักบาตร ร่วมกิจกรรมกับชุมชนเนื่องในโอกาสหรืองานเทศกาลต่างๆ

นักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มาชากชุมชนรอบโรงเรียน จาสภาพแวดล้อมของอบายมุขและสารเสพติด  มีฐานุยากจนถึงปานกบาง สภาพครอบครัวแตกแยก  ไม่มีงานทำทำให้นัเรียนมีสิสัยก้าวร้าว ไม่ตั้งใจเรีย อ่อนเรียน หรือเรียนไม่ทันเพื่อน  จึงหันไปเที่ยวเตรี คบเพื่อนและใช้สารเสพติดในที่สุด

คณะครู-อาจารย์ ผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา และผู้ปกครองซึ่งตระหนักถึงอันตราย พิษภัย และการแพร่ระบาดของสารเสพติดที่เกิดขึ้นกับนักเรียนและชุมชน  จึงได้ผนึกกำลังและร่วมมือกันศึกษาสภาพปัญหาของนักเรียน  การดำเนินงานของโรงเรียน และสถานการณ์การแพร่ระบาดของสารเสพติด  จากนั้นจึงได้จัดให้มีการประชุม อบรม สัมมนา เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงภูมทัศน์ และปรับพื้นที่บางส่วนที่เป็นมุมอับเพื่อลดการมั่วสุมหรือใข้สารเสพติดของนักเรียน  เสริมสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อบรรยากาศในการเรียนรู้  เพื่อให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข

ในอดีตที่ผ่านมาระหว่างปีการศึกษา 2535-2537 ปัญหาด้านการใช้สารเสพติดในโรงเรียนมีการให้กาวและสารระเหย  และดูเหมือนการดูแลแก้ไขป้องกัน จะเป็นหน้าที่ของครู-อาจารย์ผ่ายปกครองเท่านั้น

ต่อมาในปีการศึกษา 2538-2539 ได้มีการแพร่ระบาดของเฮโรอียนเข้ามาในโรงเรียน  แต่ปัญหาไม่รุนแรง  มีนักเรียนเสพน้อยมาก  ไม่มีการจำหน่ายเพราะครู-อาจารย์มีความรู้ในการเฝ้าระวังและป้องกันมากขึ้น  แต่ก็ยังเป็นความความรับผิดขอบเพียงครู-อาจารย์ฝ่ายปกครองเป็นส่วนใหญ่

กระทั่งในปีการศึกษา 2539-2542 มีการแพร่ระบาดของยาบ้าเข้ามาในโรงเรียนอย่างรุนแรง  เนื่องจากผู้ค้าได้เปลี่ยนเป้าหมายในการจำหน่ายยาบ้าให้กับผู้ใช้แรงงานมาเป็นนักเรียน  และยาบ้ามีราคาถูกว่าเฮโรอีน  กอบปรกับวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง ไม่มีทักษาะในการปฏิเสธเพื่อน และมีปัญหาส่วนตัวอยู่แล้ว  จึงทำให้ยาบ้าแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงแรกครูอาจารย์ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในการเฝ้าระวังหรือป้องกันการเสพยาบ้าของนักเรียน  อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายเอาผิดกับผู้บริหารของโรงเรียนที่มีนักเรียนใช้หรือเสพยาบ้า  จึงไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริงว่ามีผู้เสพยา ค้ายา  ต่อมาครู-อาจารย์เล็งเห้นว่าปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาใกล้ตัว  เป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน  จึงได้มีการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา  ช่วยกับป้องกันและแก้ไชปัญหา  คัดกรองนักเรียนโดยจำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่นักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มใช้หรือเสพยา และกลุ่มค้ายา  เพื่อความเหมาะสมในการดูแลช่วยเหลือ   ซึ่งได้ตรวจพบนักเรียนที่ใช้และเสพยาบ้า ค้ายา  จึงได้จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนที่มีปัญหา  ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม  ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเข้าค่ายพัฒนาคุณธรรม อบรมสัมมนานักเรียนแกนนำเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ถึงพิษภัยของสารเสพติด  มีทักษะในการดูแลตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้  และยังขยายความรู้ความเข้าใจไปสู่เพื่อนนักเรียนด้วยกัน  กิจกรรมตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด  กิจกรรมบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

สำหรับกิจกรรมการดูแลและช่วยเหลือนักเรียน  นับเป็นกิจกรรมที่คณะครู-อาจารย์  และผู้บริหารของโรงเรียนมีความภาคภูมิใจและประสบความสำเร็จมากที่สุด  เพราะสามารถพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม  และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง  อีกทั้งสามารถพัฒนากระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบที่ชัดเจนและประเมินผลได้  ปัญหาของนักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและใกล้ชิด  ความสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง อบอุ่นเป็นไปด้วยดี  นักเรียนรู้จักคตนเองและเพื่อนมากยิ่งขึ้น  ได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและมีทักษะการดำรงชีวิตที่ดี

นอกจากนี้  ยังได้จัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในโรงเรียนและชุมชน  ได้สำรวจความต้องการในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน  ทั้งนักเรียนกลุ่มปกติและนักเรียนที่ได้รับการบำบัดจนเลิกเสพแล้ว   โดยได้สนับสนุนและจัดกิจกรรมจนประสบความสำเร็จอย่างสูง เช่น ด้านศิลปะการวาดภาพและสิ่งประดิษฐ์ ด้านดนตรีสากล ไทยสากล ลูกทุ่ง และวงโยธวาทิต  และด้านกีฬาประเภทต่างๆ และยังได้กำหนดกิจกรรมหลายอย่างเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ปัญหาในระยะยาวอีกด้วย เช่น ศูนย์ฮอตไลน์คลาดเครียด และงานชุมชนสัมพันธ์ เป็นต้น

การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา  นับว่าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย เพราะสามารถผนึกกำลังผู้บริหาร ครู-อาจารย์ นักเรียนผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ พระสงฆ์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน  ได้หันมาให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและป้องกันอย่างจริงจัง  จนสามารถแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงได้เกือบหมด  นักเรียนที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดเต็มใจขอความช่วยเหลือดูแลรักษาและบำบัดด้วยตนเอง  การนำสารเสพติดมาจำหน่ายแจกให้ผู้อื่นในโรงเรียนแทบจะตรวจไม่พอนักเรียนส่วนใหญ่ช่วยกันสอดส่องดูแลแจ้งขัอมูลข่าวสารแก่ครู-อาจารย์ให้ทราบ  และยังช่วยให้คำปรึกษาและเป็นตัวอย่าที่ดีแก่เพื่อนนักเรียนด้วยกัน  อีกทั้งช่วยเผยแพร่ความรู้ด้านพิษภัยและสถานการณ์การแพร่ระบาดของสารเสพติดนสู่ชุมชนด้วย




ทำเนียบรางวัลฯ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี ๒๕๔๕

โรงเรียนศรีบุณยานนท์ (รางวัลฯ ดีเด่น) article
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (รางวัลฯ ดีเด่น) article
โรงเรียนนวมินทร์ราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี (รางวัลฯ ดีเด่น) article
โรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา (รางวัลฯ ชมเชย) article
โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย (รางวัลฯ ชมเชย) article
โรงเรียนรัตนสินทร์สมโภชบางเขน (รางวัลฯ ชมเชย) article
โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ (รางวัลฯ ชมเชย) article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิธารน้ำใจ 107 – 115 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0-2721-3999 ต่อ 222, 223, 08-9983-8091, 09-0986-8398 โทรสาร 0-2721-3788 E-mail: info@tarnnamjai.org