ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เกี่ยวกับมูลนิธิฯ
dot
bulletที่มาของมูลนิธิฯ
bulletวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
bulletคณะกรรมการฯ ชุดก่อตั้ง
bulletคณะกรรมการฯ ชุดปัจจุบัน
bulletบริจาคสมทบทุนมูลนิธิฯ
dot
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletกระทรวงศึกษาธิการ
bulletกระทรวงวัฒนธรรม




โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม (รางวัลฯ ดีเด่น) article

ประวัติ:  พ.ศ. 2516  โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีชื่อว่า “โรงเรียนคลองหลวงวิทยาคม”  ในระยะแรกอาศัยศาลาการปรียญวัดบางขันเป็นอาคารชั่วคราวที่ประชาชนและเจ้าอาวาสวัดบางขันช่วยสร้างให้  เป็นโรงเรียนสหศึคกษา และกรมสามัญศึกษาได้ขอที่ดินจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 50 ไร่  เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน มี นายสนาม รักษาศีล เป็นครูใหญ่

  • พ.ศ. 2518  ได้ย้ายมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2518
  • พ.ศ. 2529 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “โงเรียนคลองหลวงวิทยาคม เป็น “โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม” และเป็นโรงเรียนในโครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

สถานที่ตั้ง: ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ 10 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหวง จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ 50 ไร่

ปัจจุบัน: โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม   เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแบบสหศึกษา  จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาพาณิชยการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ  มีนักเรียนชาย-หญิง รวม 3,201 คน มีครู อาจารย์ และผู้บริหาร จำนวน 128 คน โดยมี นายเดชา ธรรมศิริ เป็นผู้อำนวยการ คนปัจจุบัน

สัญลักษณ์ของโรงเรียน: เป็นรูปธรรมจักร หมายถึง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีปิรามิด กลีบบัวบาน และพุ่มดอกบัว ซ้อนอยู่กลางธรรมจักร และมีเลข 2516 ซึ่งหมายถึง ปีที่ก่อตั้งโรงเรียน อยู่ด้านล่างพุ่มดอกบัว

ปรัชญาประจำโรงเรียน: “เรียนดี มีคุณธรรม กิจกรรมเยี่ยม”


บางส่วนของ
โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม

... ในปี พ.ศ. 2543 ปัญหาสารเสพติดได้แพร่กระจายอย่างหนัก
เข้าสู่กลุ่มเยาวชนในโรงเรียน คณะผู้บริหารของโรเงรียนจึงได้กำหนดมาตรการต่างๆ ออกมา
เพื่อเฝ้าติดตามและแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นกันอย่างจริงจัง


โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงตอนปลาย  และเปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาพาณิชยการ  ตั้งอยู่ชานเมืองในเขตปริมณฑล มีนักเรียน 3,201 คน  ซึ่งมีความหลากหลายทั้งด้านฐานะและการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว  ดังนั้น ปัญหาของนักเรียนในโรงเรียนก็คือปัญหาของสังคมที่นักเรียนพาติดตัวเข้ามาด้วย  ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพหาเข้ากินค่ำ ไม่มีเวลาที่จะอบรมเลี้ยงดู หรือติดตามบุตรหลานของตนเท่าที่ควรจะเป็น  เพราะยังมีแนวคิดว่าควรเป็นหน้าที่ของทางโรงเรียนที่จะอบรมบ่มนิสัยและขจัดเกลาพฤติกรรมทางสังคม  ประกอบกับศูนย์การค้าและแหล่งบันเทิงที่ขยายตัวออกมาจากกรุงเทพมหานคร  ทำให้สภาพแวดล้อมของชุมชนและสังคมชนบทเป็นสังคมเมืองและได้นำเอาแบบอย่างที่คนเมืองประพฤติปฏิบัติติดตามออกมาด้วย  นักเรียนของโรงเรียนส่วนหนึ่งปรับตัวอเองไม่ได้  เกิดความสับสนในสิ่งที่พบเห็นกับคำอบรมสั่งสอนของครู-อาจารย์  ทำให้เกิดความหลงใหลในสิ่งที่พบเห็นโดยขาดการไตร่ตรอง  จึงหนีเรียน ขาดเรียน ไปมั่วสุมกัน  อันเป็นเหตุทำให้ผลการเรียนตกต่ำ  บางรายต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน  และนักเรียนส่วนหนึ่งใช้ยาเสพติดให้โทษประเภทบุหรี่ ยาบ้า และสารระเหยทุกประเภท

จากพฤติกรรมต่างๆ  ของนักเรียนที่ผิดไปจากปกติทั่วไป  โดยในปี พ.ศ.2543  ปัญหาสารเสพติดได้แพร่ระบาดอย่างหนักเข้าสู่กลุ่มเยาวชนในโรงเรียน  คณะผู้บริหารของโรงเรียนจึงได้กำหนดมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อเฝ้าติดตามและแก้ไขปัญหาในเบื้องตันกันอย่างจริงจัง  ทั้งประสานกับผู้ปกครองและให้ครู-อาจารย์  เพื่อเป็นผู้ดำเนินการโดยกำหนดให้อาจารย์ที่ปรึกษาทุกคน  ต้องตรวจสอบรายชื่อนักเรียนและกำชับนักเรียนมาให้ทันเคารพธงชาติ  หากใครมาสาย 2 ครั้งใน 1 สัปดาห์  ให้ตั้งข้อสังเกตและรีบแจ้งหรือเชิญผู้ปกกครองมาร่วมกันหาทางแก้ไข  หรือถ้าติดต่อไม่ได้ให้ไปเยี่ยมบ้านทันที  นอกจากนี้ หลังเคารพธงชาติเสร็จแล้ว  ครูฝ่ายปกครองยังจะนำรถโรงเรียนออกตรวจในชุมชนที่นักเรียนชอบหนีเรียนและไปมั่วสุมกัน เช่น ร้านเกมคอมพิวเตอร์ ห้างสรรพสินค้า หรือสถานบันเทิงต่างๆ เป็นต้น  แล้วรับกลับเข้ามาเพื่อรายงานและทำกิจกรรมในโรงเรียน  และยังได้จัดทำไปรษณียบัตรรายงานพฤติกรรมนักเรียน  และอื่นๆ ที่ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทุกเดือน  และสำหรับครูที่ปรึกษาแต่ละท่านจะได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการ  “ครูไปเยี่ยมบ้านนักเรียน” ทุกคน  ซึ่งจะทำให้ได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากสภาพความเป็นจริงของนักเรียน

นอกจากการติดตามดูแลและแก้ไขปัญหาที่ตัวนักเรียนแล้ว  ทางด้านการจัดตั้งผู้ปกครองเครือข่ายและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ องค์กรเอกชนภายนอกโรงเรียน  ตลอดจนชุมชนต่างๆ แล้ว  ทางโรงเรียนก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี  ด้วยการช่วยชี้เบาะแสและแจ้งสถานที่ที่นักเรียนหนีเรียนไปมั่วสุม  เพื่อให้ทางโรงเรียนได้ดำเนินการติดตามและรับกลับเข้าโรงเรียน

กลยุทธ์ต่างๆ ของผู้บริหาร และคณะครู-อาจารย์  โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม ในการแก้ไขปัญหาด้านสารเสพติดนั้น  ได้เน้นที่การป้องกันและความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาเป็นหลักโดยใช้วิธีต่างๆ อาทิ

วิธีกวนน้ำให้ขุ่น โดยผู้บริหาร และคณะครู-อาจารย์  ได้ตรวจตราความาเป็นระเบียบของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนตลอดวเลาและอย่างต่อเนื่อง  เพื่อสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ 

ไม่เปิดโอกาสได้ทำผิด โดยกำหนดให้หนึ่งห้องเรียนมีอาจารย์ที่ปรึกษาจำนวนสองคนคอยให้คำปรึกษานักเรียนและจัดทำทะเบียนประวัตินักเรียน  เพื่อให้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  และคัดกรองนักเรียนเพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหานักเรียนตามสภาพจริง

เกลือจิ้มเกลือ  เมื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว  ก็จะดำเนินการแก้ไขอย่างฉับพลัน  รวดเร็ว และสามารถช่วยเหลือนักเรียนได้ทันเหตุการณ์
 ติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง  โดยการจัดการประชุมผู้ปกครองทุกห้องเรียนทุกระดับเป็นประจำ ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง  และจัดทำวารสารโรงเรียนเพื่อป็นสื่อกลางระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองได้ทราบความเคลื่อนไหวในกิจกรรมของโรงเรียน

เครือข่ายผู้ปกครอง  โดยการเลือกตัวแทนผู้ปกครองห้องเรีนละ 6 คน  เพื่อเป็นผู้ปกครองเครือข่ายในการให้ข้อมูล  ติดต่อข่าวสารกับทางโรงเรียนทำให้รับทราบข้อมูลของนักเรียนได้เร็วยิ่งขึ้น  และโรงเรียนสามารถด้านอื่นๆ ในการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

เฝ้าระวังในที่ลับตา  ในบริเวณจุดที่เป็นอันตรายและเสี่ยงต่อการกระทำผิด เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม  โดยได้กำหนดให้ครูและนักเรียนที่เป็นแกนนำนักเรียนเครือข่าย ตรวจสอบ สอดส่องดูแลอยู่เสมอ  เพื่อเฝ้าระวังมิให้เกิดการกระทำผิดใดๆ

ผลจากมาตรการต่างๆ ได้ทำให้นักเรียนกลับสู่ห้องเรียน ไม่หนีเรียน ไม่เสพหรือค้าสารเสพติดโอกาสที่จะประพฤติผิดก็จะทำได้น้อยลง และหันมาตั้งใจเรียนมากขึ้น  โดยประเมินได้จากภาพรวมของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น  สถิติการขาดเรียน และการมาโรงเรียนสายลดลง ผลการตรวจปัสสาวะของนักเรียนไม่พบสารเสพติด และนักเรียนปรับปรุงตัวเองดีขึ้นเป็นลำดับ




ทำเนียบรางวัลฯ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี ๒๕๔๖

โรงเรียนหอวัง (รางวัลฯ ดีเด่น) article
โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม (รางวัลฯ ดีเด่น) article
โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี (รางวัลฯ ชมเชย) article
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล (รางวัลฯ ชมเชย) article
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 (รางวัลฯ ชมเชย) article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิธารน้ำใจ 107 – 115 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0-2721-3999 ต่อ 222, 223, 08-9983-8091, 09-0986-8398 โทรสาร 0-2721-3788 E-mail: info@tarnnamjai.org