ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เกี่ยวกับมูลนิธิฯ
dot
bulletที่มาของมูลนิธิฯ
bulletวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
bulletคณะกรรมการฯ ชุดก่อตั้ง
bulletคณะกรรมการฯ ชุดปัจจุบัน
bulletบริจาคสมทบทุนมูลนิธิฯ
dot
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletกระทรวงศึกษาธิการ
bulletกระทรวงวัฒนธรรม




นายเทพนิมิตร ศรีปัญญา article

นายเทพนิมิตร ศรีปัญญาคำประกาศเกียรติคุณคนไทยตัวอย่างประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๑

นายเทพนิมิตร ศรีปัญญา

 เมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน ประเทศไทยมีป่าไม้คิดเป็น ๗๐% ของพื้นที่ทั้งหมด สี่สิบปีก่อนเหลือประมาณ ๕๐% เท่ากับลดลง ๒๘% ภายใน ๖๐ ปี ปัจจุบันนี้เหลือเพียง ๒๕% เท่ากับลดลง ๕๐% ภายใน ๔๐ ปี

 เด็กนักเรียนเมื่อ ๔๐ ปีก่อน เรียนรู้จากแผนที่ในวิชาภูมิศาสตร์ว่าส่วนหัวของขวานทองเป็นสีเขียว อันเป็นสัญลักษณ์แทนสภาพภูมิอากาศว่าเป็นมรสุมเขตร้อน เด็กนักเรียนในปัจจุบันกำลังเรียนว่า หัวขวานทองของไทยเป็นสีเหลือง สัญลักษณ์แทนสภาพภูมิอากาศว่า เป็นทุ่งหญ้าสะวันนา

 สาเหตุหนึ่งที่ป่าไม้หดหายไปในอัตราเร่ง เกิดจากการรุกล้ำเพื่อทำการเกษตร และเกิดจากการตัดไม้และล่าสัตว์ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว นโยบายเน้นการปราบปรามก่อให้เกิดความบาดหมาง ระหว่างเจ้าหน้าที่ทางการกับราษฎร จนบางครั้งเกิดการพิพาทใช้กำลัง และปัญหาก็ยังยืดเยื้อมาตลอด

 ที่ป่าภูวัว บนพื้นที่กว่าหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นไร่ มีหัวหน้าเขตฯ ซึ่งเข้าใจปัญหานี้อย่างลึกซึ้ง ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากชุมชนในการจัดการป่า ท่านได้ใช้กุศโลบายสร้างสัมพันธ์กับผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้านและเยาวชน ชี้ให้เห็นคุณค่าของป่าและสัตว์ ให้เห็นภัยสนองคืนจากการล่าสัตว์ตัดไม้ ส่งเสริมอาชีพราษฎร ให้พึ่งพาตนเองโดยไม่ต้องรบกวนป่า เสนอทางเลือกใหม่ของความเป็นอยู่ซึ่งไม่ต้องใช้ไม้ จนราษฎรได้กลายเป็นแนวร่วมอนุรักษ์ป่าด้วยความสมัครใจ “ป่าไม้มวลชน” ท่านนี้คือ “นายเทพนิมิตร ศรีปัญญา”

 นายเทพนิมิตร ศรีปัญญา อายุ ๔๗ ปี หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดหนองคาย บัณฑิตสาขาวนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยยอรันเนต้า ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคนบึงกาฬ จังหวัดหนองคายโดยกำเนิด ท่านเป็นคนรักป่าและทุกสิ่งที่อยู่ในนั้น ท่านพยายามประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงคุณค่าของป่าไม้ ว่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าและแหล่งสมุนไพรหายาก เป็นแหล่งบันดาลฝน เป็นปราการธรรมชาติป้องกันน้ำท่วม เมื่อท่านเห็นชาวบ้านผู้ยากไร้ใช้ฝาเรือนทำโลงศพให้ญาติผู้เสียชีวิต  ก็ตระหนักว่าอีกไม่ช้าชาวบ้านผู้นั้นก็ต้องเข้าป่า แอบตัดไม้มาซ่อมฝาเรือน ท่านจึงเริ่มทำโครงการบริจาคโลงศพทำด้วยไม้อัด จากเงินผู้บริจาคมีจิตศรัทธา จนถึงขณะนี้บริจาคไปแล้ว ๔๑๐ โลง ท่านทำการหล่อเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อใช้แทนไม้ในการสร้างบ้าน ได้คัดเลือกคนยากจนไม่มีที่อาศัย ๙ ตำบลรอบแนวเขตฯ เพื่อสร้างบ้านให้เปล่า โดยใช้วัสดุทดแทนไม้ในการก่อสร้างทั้งสิ้น ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างสัมพันธ์ และเสนอทางเลือกใหม่ ซึ่งไม่ต้องเบียดเบียนป่าแก่ราษฎร

 หัวหน้าเขตฯ เทพนิมิตรฯ มีโครงการที่ทำสำเร็จอย่างต่อเนื่องหลายอย่าง ล้วนเป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้าน ก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างดีในเวลาต่อมา เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาป่าภูวัวด้วยกัน เด็กนักเรียนยากจนใน ๖๐ โรงเรียนรอบแนวเขตฯ ได้รับรองเท้าบริจาคเพื่อสุขอนามัย ทางเขตฯ ได้สนับสนุนอาหารกลางวันโรงเรียนละ ๓,๐๐๐ บาท มอบทุกการศึกษาเด็กเรียนดีแต่ยากจน ทุนละ ๕๐๐ บาท ทางโรงเรียนเกิดความเข้าใจในเจตนา และได้ร่วมมือช่วยเพาะชำกล้าไม้ ๓,๐๐๐ ถุงต่อโรงเรียน ทั้งนี้ก็เพื่อแจกจ่ายภายในหมู่บ้านที่โรงเรียนตั้งอยู่ เป็นการส่งเสริมอาชีพราษฎร หมู เป็ด ไก่ และปลา ซึ่งสหกรณ์ของเขตฯ เลี้ยงไว้ก็เพื่อให้ชาวบ้านได้ฝึกอาชีพ และเพื่อการแจกจ่ายให้ราษฎรนำไปเลี้ยงขายได้

 หัวหน้าเขตฯ เทพนิมิตรฯ ได้จัดการฝึกอบรมผู้นำท้องถิ่น ครู และนักเรียน โดยร่วมมือกับหน่วยสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อปลูกฝังความรักป่าและสัตว์ป่าในธรรมชาติ ท่านมีความชิดเชื้อกับราษฎรทั้ง ๑๔ หมู่บ้านรอบป่าอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ชาวบ้านต่างให้ควมรักใคร่ศรัทธา เมื่อท่านทำโครงการมอบเลื่อยยนต์และอุปกรณ์ล่าสัตว์ เพื่อให้คนแสดงความจริงใจที่จะเลิกล่าสัตว์ตัดไม้ ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เมื่อทำการปลูกป่าถาวรบนพื้นที่ ๕๐๐ ไร่ และปลูกพืชอาหารช้าง ๕๐๐ ไร่ ในโครงการ “เรารักช้าง” ผู้คนหลายพันคนจากทั้งจังหวัดก็เดินทางมาร่วมแรงร่วมใจกัน กลายเป็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมจากชุมชน ในการจัดการป่าที่ชัดเจน

 เรื่องแนวเขตซึ่งเป็นปัญหาละเอียดอ่อน หัวหน้าเขตฯ ได้จัดการปรับลดในส่วนเสื่อมโทรมไม่อาจฟื้นฟูสภาพ และปรับเพิ่มในส่วนอุดมสมบูรณ์หรือล่อแหลมต่อระบบนิเวศวิทยา ท่านหาแม่พิมพ์มาหล่อเจดีย์บรรจุอัฐิเพื่อบริจาค ชาวบ้านก็มีเจดีย์อัฐิอยู่บนที่ดินตนเหมือนคนมีฐานะได้ ขณะเดียวกันเจดีย์อัฐินี้ก็เป็น เครื่องบอกแนวเขตในตัวเพราะต้องตั้งใกล้ขอบที่ดิน และเจ้าหน้าที่เขตฯ จะช่วยทำการปักตั้งองค์เจดีย์ให้

 งบประมาณในโครงการต่าง ๆ ของหัวหน้าเขตฯ ล้วนมาจากการบริจาค เช่น จากชมรมบึงกาฬสร้างสรรค์ ๓๙ ซึ่งเป็นชมรมเพื่อสาธารณกุศล จากผู้มีจิตศรัทธาอยากช่วยอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า จากประชาชนที่มาศึกษางานหรือท่องเที่ยวในเขตฯ จากเพื่อนร่วมงานและเพื่อนนักศึกษา จากองค์กรเอกชนต่าง ๆ ในปี ๒๕๓๙ เมื่อท่านได้รับการคัดเลือกจากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ให้เป็น “เพชรน้ำเอกในวงราชการ” ท่านนำเงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาทนั้นลงในโครงการมอบทุนการศึกษานักเรียนทั้งหมด

 หัวหน้าเขตฯ เทพนิมิตรฯ ได้อุทิศตนเพื่อรักษาป่าสมบูรณ์ผืนสุดท้ายของหนองคาย ให้คงความหลากหลายทางชีวภาพเป็นมรดกถึงคนรุ่นหลัง ท่านทำงานอย่างทุ่มเท ช่วยเหลือความเป็นอยู่ของราษฎร ส่งเสริมอาชีพเพื่อให้พึ่งตนเอง ไม่ต้องคอยเอาเปรียบป่า โครงการทุกอย่างช่วยให้มวลชนเกิดความผูกพันกับป่าที่ตนอาศัยอยู่ใกล้ ท่านยังช่วยเพาะความรักธรรมชาติลงในหัวใจของเยาวชนจำนวนมาก เพื่อเขาเหล่านั้นจะเติบโตขึ้นเป็นแนวร่วมพิทักษ์ป่ารุ่นต่อไป


มูลนิธิธารน้ำใจได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรยกย่องให้ นายเทพนิมิตร ศรีปัญญา
“เป็นคนไทยตัวอย่างประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๑”


 




ทำเนียบคนไทยตัวอย่าง

นายแพทย์เทอดชัย ชีวะเกตุ article
นางชุลีมาสก์ พานนท์ article
นายสุชีพ ปุญญานุภาพ article
นางสมบูรณ์ เสรีเวสารัตน์ article
นางทิวาพร ศรีวรกุล article
แพทย์หญิงอรไท นิตย์คำหาญ article
พันตำรวจโทวิศณุ ม่วงแพรสี article
นายแพทย์สมสิทธิ์ ตันสุภสวัสดิกุล article
นายณรงค์ ปฏิบัติสรกิจ article
นายจวง เลิศไกร article
นายอรัญ อินทร์แย้ม article
พันตำรวจโทยงยุทธ เจริญวานิช article
นายแพทย์ภักดี สืบนุการณ์ article
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ article
แพทย์หญิงวัฒนีย์ เย็นจิตร article
นายชำนาญ ท้วมจันทร์ article
นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ article
นายพิศาล บุญผูก article
นายเทียน ธีระกนก article
นายโกวิท วรพิพัฒน์ article
นายแสวง เอี่ยมองค์ article
นายสุรเกียรติ ยอดวิเศษ article
พันเอกปรีชา วรรณรัตน์ article
นายประสาท ภู่ทองคำ article
นายแพทย์ธาดา ชาคร article
นายอุดม ธรรมรงค์ฤทธิ์ article
ร้อยเอก อรรฐพร โบสุวรรณ article
นายวิชา มหาคุณ article
นางทองดี โพธิยอง article
นายพรหม พักตร์จันทร์ article
นางนงโภช วงศ์ตระกูล article
นายชัยวัฒน์ แข่งขัน article
นายจอม นักฆ้อง article
ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร article
นายวีรศักดิ์ วรรณวนอมร article
นายดิเรก ถึงฝั่ง article
นางขนิษฐา เทวินทรภักติ article
นายศิริ มัตตะเดช article
นายวรรณ ขุนจันทร์ article
นายประพันธ์ ชลวีระวงศ์ article
นายหะยีอาหะมะ อาแวบือซา article
นายประหยัด ภูหนองโอง article
นางบุญเอื้อ สุภาพรเหมินทร์ article
ร.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว article
นายสังคม ทองมี article
นายประยุทธ สุวรรณโกตา article
นายแพทย์อนันต์ เมนะรุจิ article
นายอธึก สวัสดีมงคล article
นายปชา ลาภานันท์ article
นายสุธี จอนเจิม article
นายถวิล เดชจินดา article
นายเกษม พลวัน article
นายเฉลิม แก้วศรีงาม article
นายเกียรติ วงศ์กสิกิจ article
นายแพทย์ศัลยเวทย์ เลขะกุล article
นายเปล่ง ศรีดาน้อย article
พ.ต.ต.เสรี เตมียเวส article
นายแพทย์ชิน ยุวชิต article
นายจรวย พงษ์ชีพ article
นายวิบูลย์ มาลิเสน article
นายทิวา พูลสมบัติ article
พลตรีอาทิตย์ กำลังเอก article
นายประพันธ์ กองหาโคตร article
นายแพทย์บุญยงค์ วงศ์รักมิตร article
นายเต้า ณ ลำปาง article
อาจารย์ลาวัลย์ ถนองจันทร์ article
นายแพทย์ปรีชา ดีสวัสดิ์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิธารน้ำใจ 107 – 115 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0-2721-3999 ต่อ 222, 223, 08-9983-8091, 09-0986-8398 โทรสาร 0-2721-3788 E-mail: info@tarnnamjai.org