ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เกี่ยวกับมูลนิธิฯ
dot
bulletที่มาของมูลนิธิฯ
bulletวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
bulletคณะกรรมการฯ ชุดก่อตั้ง
bulletคณะกรรมการฯ ชุดปัจจุบัน
bulletบริจาคสมทบทุนมูลนิธิฯ
dot
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletกระทรวงศึกษาธิการ
bulletกระทรวงวัฒนธรรม




โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย (รางวัลฯ ดีเด่น) article

ประวัติ:

ปี พ.ศ. 2501 ได้ก่อตั้งขึ้น  มีชื่อเดิมว่า “โรงเรียนพระโขนง”
ปี พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย”

สถานที่ตั้ง: โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย  เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ  มีพื้นที่ 29 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา  ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท 62 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10250

ปัจจุบัน  โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย จัดเป็นโรงเรียนในกลุ่มที่ 4 และสหวิทยาเขตเบญจสิริ  สังกัดกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  ในเขตกรุงเทพมหานคร  เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี นายยอร์ช เสมอมิตร  เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนฯ  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน  มีครูและอาจารย์     จำนวน 147 คน  เป็นชาย 39 คน  เป็นหญิง 108 คน  มีนักเรียนทั้งสิ้น  จำนวน 3,372 คน  เป็นนักเรียนชาย 1,640 คน และนักเรียนหญิง 1,732 คน

คติพจน์ของโรงเรียน:  “นตถิ ปญญาสมา อาภา”   แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


บางส่วนของ
โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย

.....ในอดีต.....เมื่อครู อาจารย์ หรือผู้บริหารคนใดถูกย้ายให้มาประจำอยู่สถานศึกษาแห่งนี้ก็จะรู้สึกเสมือนถูกลงโทษ  ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำความผิด เพราะสถานที่ตั้งของโรงเรียนฯ ล้อมรอบไปด้วยชุมชนซึ่งเป็นแหล่งอบายมุขมากมาย ปัญหาสารเสพติดกระจายไปทั่ว ทั้งผู้เสพ แหล่งค้า ตัวแทนขาย แต่ความรู้สึกเข่นนั้นกลับกลายเป็นความท้าทายในความสามารถของครู อาจารย์ และผู้บริหาร จนในปัจจุบัน.....สถานศึกษาแห่งนี้  เปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ที่ใครๆ ก็อยากเข้ามาพักพิง........

โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย  เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในสังกัดกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  สถานที่ตั้งของโรงเรียนถือเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนต่าง เช่น  ชุมชนสวนอ้อย  ชุมชนโรงเหมู  ชุมชนบางไทรและชุมชนแออัดย่านทางรถไฟเก่า  ชุมชนคลอดเตย และชุมชนแออัดต่างๆ บริเวณหลังวัดบุญรอดและคลองเจ๊ก และอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบและคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าสารเสพติดหรืออบายมุขต่างๆ  ส่วนใหญก็มาจากแห่งของชุมชนเหล่านี้ นั่นเอง

ดังนั้น โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย  ก็ไม่สามาถปฏิเสธได้เช่นกันว่า  นักเรียนของโรงเรียนฯ ส่วนใหญ่ต้องมาจากครอบครัวที่อยู่ในชุมชนต่างๆ โดยรอบเหล่านี้  และมีจำนวนไม่น้อยที่มาจากสภาพแวดล้อมของอบายมุขและสารเสพติด  และหลายครั้งที่อบายมุชและสารเสพติดเหล่านี้ได้ถูกแอบนำเข้ามาภายในโรงเรียน  ทั้งลักษณะการจำหน่าย การเสพ และการแอบมั่วสุม

คณะครู อาจารย์ และผู้บริหารของโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัยซึ่งตระหนักถึงโทษภัยและการแพร่ระบาดของยาเสพติด  ตลอดจนอบายมุขต่างๆ อันเป็นปัญหาของประเทศชาติที่เกิดกับเยาวชน  จึงได้เริ่มจากการศึกษานโบยายและยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติด  ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  คุณธรรมจริยธรรม  และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตมาเป็นรูปแบบแนวทางปฏิบัติ  พร้อมกับวิเคราะห์สภาพปัญหาเพราะโรงเรียนมีสถานที่ตั้งอยู่ในแหล่งเสี่ยงสูง  ซึ่งสรุปได้ว่าปัญหานักเรียนเกี่ยวข้องกับสารเสพติดเกิดจาก ...

  • เพื่อนขวน เพราะอยากแสดงความอวดเก่ง  หรือต้องการลบปมด้อย ฯลฯ
  • อยากลอง  เพราะรู้สึกท้าทาย หรืออยากรู้รสชาติ ฯลฯ
  • สิ่งแวดล้อม  เพราะสถานที่ตั้งของโรงเรียนและบ้านอยู่ใกล้ชุมชน  แหล่งค้าสารเสพติด ฯลฯ
  • ปัญหาครอบครัว  เพราะขาดความรัก  ความาเข้าใจ  ความาอบอุ่นจากพ่อแม่ หรือพ่อแม่เลิกกัน

โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย  จึงได้เชิดชูในความรักประเทศชาติ รักพระเจ้าอยู่หัว  รักเยาวชนของชาติ  โดยได้
ร่วมกันสร้างทีมงานแสวงหาความร่วมมือจากนักเรียน  ผู้ปกครอง ครู-อาจารย์ นักการภารโรง  บุคลากรในโรงเรียน  ชุมชน วัด หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา บำบัด รักษากายและใจ  และป้องปรามปัญหาสารเสพติดไม่ให้แพ่ขยายออกไป  และที่มีอยู่ให้ลดน้อยลงจนกระทั่งให้หมดไปในที่สุด

การป้องกันแก้ไขจึงได้ดำเนินขึ้น  โดยการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์และต่อต้างสิ่งเสพติดยอย่างจริงจัง  ไม่ว่าจะเป็นการอบรมสัมมนาสารเสพติด  การจัดแบ่งขันกีฬาและจัดตั้งลานกีฬาต้านยาเสพติด  การคัดเลือกยุวทูตต่อต้านยาเสพติดสัญจร  จัดตั้งศูนย์แหล่งเรียนรู้โทษภัยยาเสพติด “ศูนย์คลายทุกข์ สุขใจ ไร้สาร”  และกิจกรรมพบผู้ปกครอง  ให้ความรู้ “เลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความสุข”  “เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างไกลยาเสพติด” “การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร” ฯลฯ

การรณรงค์และตื่อต้านสารเสพติดอย่างจริงจังของคณะครู อาจารย์และผู้บริหารของโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย  จึงแทบจะไม่มีวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำงาน  เพราะทุกคนตระหนักถึงปัญหาของเยาวชนที่เกี่ยวกับสารเสพติด  จึงได้อาสาออกเยี่ยมเยียนครอบครัวของนักเรียน  โดยเฉพาะครอบครัวของนักเรียนที่มีปัญหา  และข้อมูลของปัญหาจึงถูกรวบรวมนำมาวิเคราะห์เพื่อหาทางแก้ไข  และปัญหาส่วนใหญ่ของนักเรียนที่มีปัญหา ก็คือ ปัญหาจากสถาบันครอบครัวที่แตกแยก ขาดความอบอุ่น เศรษฐกิจภายในครอบครัวไม่ดี  พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแล หรือไม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก  และปัญหาจากสภาพสังคมของชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงและสามารถชักจูงเยาวชนไปได้ง่าย เช่น การเสพสารเสพติด การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การเที่ยวเตร่มั่วสุม การทะเลาะวิวาท การแต่งตัวตามสมัยนิยม  โดยไม่ได้คำนึงถึงฐานะหรือรายได้ของครอบครัว หรือการมีเพศสสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

ในการแก้ไขปัญหาภายนอก  โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัยได้ประสานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน  ผู้นำ ชุมชน วัด และบุคคลหรืองค์กรต่างๆ ที่ชาวชุมชนเหล่านี้ให้ความเคารพนับถือ ศรัทธาและเชื่อฟัง  เพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ  ขึ้น  เพื่อที่จะสอดแทรกความรู้ความเข้าใจโทษภัยของอบายมุขและสิ่งเสพติด  และหันมาเวลว่างให้เป็นประโยชน์  และร่วมกันป้องปรามอย่างจริงจัง เช่น การจัดแข่งขันกีฬาระหว่างชุมขน  การประสานให้ศิลปินนักดนตรีซึ่งเป็นศิษย์เก่ามาจัดแสดงดนตรีเพื่อรณรงค์ การอบรมผู้นำชุมชน  เพื่อให้พ่อแม่ได้รู้ว่าบุคคลสำคัญอันดับแรกที่ควรให้ความรัก ความเข้าใจและเป็นกำลังใจให้แก่ลูก ก็คือ พ่อและแม่ผู้ให้กำเนิดนั่นเอง

ทางด้านภายในโรงเรียนฯ คณะครู อาจารย์ และผู้บริหารของโรงเรียน ได้อบรมสั่งสอนนักเรียนด้วยความรัก ความเมตตา ความจริงใจ ให้โอกาส และให้กำลังใจ เสมือนครูเป็นพ่อแม่  เปลี่ยนบรรยากาศทางการเรียนเป็นบรรยากาศของครอบครัว  เพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดหายไปจากสถาบันครอบครัวและไม่ให้รู้สึกว่าตนเองนั้นมีปมด้อย  ในขณะเดียวกันก็ปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรมให้แก่เด็กนักเรียนและสอนให้เด็กนักเรียนได้รู้ซึ้งถึงโทษภัยของสารเสพติด  และมีจิตสำนึกในความรับผิดของต่อตนเอง  ต่อโรงเรียน  ต่อครอบครัว  ต่อสังคม  และต่อประเทศชาติ พร้อมกันนี้ก็ได้แบ่งนักเรียนของโรงเรียนณ  ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มบริสุทธิ์  เพื่อให้ความรู้  ฝึกทักษะชีวิต  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ประชุม อบรมแก่นนำ  ร่วมกันจัดนิทรรศการ  และจัดตั้ง “ศูนย์คลายทุกข์ สุจใจ ไร้สาร”  เพื่อคอยให้คำปรึกษาแก่นักเรียน และ ให้นักเรียนได้เข้ามาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  ในการเล่นกีฬา  อ่านหนังสือ และร่วมกันจัดกิจรรมต่างๆ ที่ต่อต้านสารเสพติด  และยังให้นักเรียนเสนอตัวเองเข้ามาเป็นอาสาสมัครร่วมรณรงค์ต่อต้านสารเสพติดด้วย
  2. กลุ่มเสี่ยง  เพื่อให้กลุ่มเพื่อนนักเรียนที่เป็นอาสาสมัครช่วยสังเกตและหาข้อมูลเพื่อป้องปรามและแก้ไข และเมื่อพบเห็นความเปลี่ยนแปลงก็จะร่วมกับผู้ปกครองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ให้การปรึกษาสุขภาพจิต  และจัดอบรม/กิจกรรม/ทัศนศึกษา  หรือใข้เวลาลว่างให้เป็นประโยชน์  จนหายเป็นปกติ
  3. กลุ่มติดยา  (กลุ่มที่ติดยาแล้วกลับมาเสพอีก)  เพื่อจะดำเนินการให้การปรึกษาบำบัดจิตใจ  หรือให้ศูนย์บำบัด/โรงพยาบาลเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือ
  4. กลุ่มค้ายา  เพื่อจะทำการสอดส่องดูแล  ตรวจค้น  โดยประสานกับผู้ปกครองเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศทางการเรียน  และให้เลิกพฤติกรรม  หากปรับเปลี่ยนไม่ได้ก็อาจนำกระบวนการทางกฎหมายมาใช้
    การเปลี่ยนแปลงบรรยากาศทางการเรียนมาเป็นบรรยากาศของครอบครัวนับว่าได้ผลอย่างมาก  การที่ครูและอาจารย์ทุกคนเรียกนักเรียนว่า”ลูก”  และนักเรียนทุกคนเรียกครูและอาจารย์ว่า “พ่อ” และ “แม่”  และการที่ครูและอาจารย์ได้ลงไปดูแลอย่างใกล้ชิด  รวมทั้งนักเรียนได้ดูแลกันเอง  ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น  จริงใจ  นักเรียนหลายคนที่ครอบครัวปัญหาพ่อแม่แยกทางกันและทางบ้านมีปัญหาเกี่ยวกับสารเสพติด ครูและอาจารย์ก็ให้ความรู้ความเข้าใจ  ให้กำลังใจ ความอบอุ่นและให้โอกาส  ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกสบายใจไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด  แต่หันมาสนุกับการเรียนและร่วมรณรงค์ต่อต้านสารเสพติด  และกล้าที่จะชี้แจงให้คนในครอบครัวรู้และเข้าใจถึงโทษภัยของสารเสพติดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม

โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย  เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของนักเรียน  นักเรียนจะมีความรักความผูกพันและหวงแหนในสถาบัน  มีความสามัคคีในหมู่นักเรียน  ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์  มีโอกาสค้นหาตัวเองได้ว่า  ต้องการอะไร  มีวิสัยทัศน์อย่างไร  มีความสามารถอย่างไร  และนักเรียนได้ร่ามกันคิด  นำเสนอโครงการและกิจกรรมที่ต่างๆ เดี่ยวกับจริยธรรม ศาสนา  และการแก้ไขปัญหาด้านสารเสพติดมากมาย เช่น

  • การจัดนิทรรศการรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก
  • การจัดนิทรรศการวันต่อต้านยาเสพติดโลก
  • กีฬาต้านยาเสพติดกับศิลปินนักรัอง
  • กิจจกรรมรณรงค์วันแห่งความรักต้านภัยยาเสพติด
  • กิจรรมวันเอดส์โลก
  • การสอบธรรมศึกษา  ตอบปัญหาธรรมะ
  • การแข่งขันบรรยายธรรมะ  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • จัดติดป้ายคำขวัญ คติสอนใจ ทางพุทธศาสนา
  • จัดตั้งแหล่งเรียนรู่ทางศาสนา  ห้องจริยธรรมศึกษา
  • จัดที่นั่งทำการบ้านพักผ่อน  ปรับปรุงมุมอับต่างๆ

การดำเนินการปัองกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอบายมุขและสารเสพติดของโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย  นับว่าประสบความสำร็จเกินความคาดหมาย  เพราะนอกจากจะสามารถแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงได้เกือบหมดแล้ว  นักเรียนที่ติดสารเสพติดก็กล้าที่จะเดินเข้ามาขอรับการรักษาด้วยตนเอง  อีกทั้งการนำสารเสพติดมาจำหน่ายในโรงเรียนก็แทบจะหมดไป  นักเรียนส่วนใหญ่ได้ช่วยกันสอดส่องแจ้งข่าวสารให้แก่ครู และอาจารย์ ได้ทราบหากนักเรียนคนใดมีพฤติกรรมที่ผิดปกติและยังช่วยให้คำปรึกษาแก่เพื่อนนักเรียนด้วยกัน  ตลอดจนช่วยชี้แจงแก่คนในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเสพเสพติดเมื่อมีโอกาส

ทางด้านผู้ปกครองของนักเรียนและองค์กรภายนอก  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ตลอดจนสมาคมนักเรียนเก่าและผู้ปกครองเครือข่าย  ก็มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างดีเสมอ  และยังช่วยรณรงค์และแจ้งจ่าวสารเกี่ยวกับสารเสพติดเพื่อช่วยป้องปรามให้หมดไปอีกทางหนึ่งด้วย  จึงนับว่ากิจกรรมของโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัยได้ช่วยเหลืออนาคตของเด็กและเยาวชน  และสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชุมชน แก่สังคม และแก่ประเทศชาติได้อย่างดียิ่ง  และยังถือเป็นการพัฒนาความรับผิดชอบไปสู่สังคมของสถานศึกษาได้อีกแนวหนึ่ง  แต่ความมุ่งมั่นของคณะครู อาจารย์ และผู้บริหารของโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัยก็ยังสานต่อนโยบายในการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ต่อไป  เพื่อร่วมกันจัดกิจรรมสเสริมสร้างคุณธรรมจริธยรรม และปัองกันปัญหาด้านสารเสพติดของนักเรียน  เด็ก  และเยาวชนให้ลด ละ เลิก อย่ายั่งยืน  และเพื่อให้เป็นคนดีและกำลังสำคัญของชาติต่อไปในอนาคต

 




ทำเนียบรางวัลฯ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2544

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (รางวัลฯ ดีเด่น) article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิธารน้ำใจ 107 – 115 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0-2721-3999 ต่อ 222, 223, 08-9983-8091, 09-0986-8398 โทรสาร 0-2721-3788 E-mail: info@tarnnamjai.org